สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้เป็นวันแรกในวันปฐมนิเทศ 2 มีนาคม 2558 ผมมีภาพบรรยากาศภายในห้องเรียนอยู่ด้วย แต่จะนำเสนอแบ่งปันแยกออกจากส่วนบทความนี้ เนื่องจากผมอยากนำเสนอในประเด็นการจัดการรถรับ-ส่ง เอาไว้เพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำไปปรับใช้ได้ คงต้องเริ่มจากแนวคิดการบริหารจัดการก่อน ผมอยากให้ทุกท่านลองนึกภาพตามว่า การที่โครงการบริหารให้มีการรับ-ส่ง เที่ยวเดียวในตอนเช้า และหลังเลิกเรียนตอนเย็น นั้นดีอย่างไร มองผิวเผินก็คงมองเป็นเรื่องปกติธรรมดา
คราวนี้ลองหลับตานึกภาพในสมองใหม่ ว่าถ้าเราไม่บริหารจัดการแบบไไป-กลับ เที่ยวเดียว จะเกิดอะไรขึ้น เช่น การรับ-ส่ง มากกว่า 1 เที่ยว เป็น 2-3 เที่ยว ตอนเช้าคนพิการที่มารอบแรกคงต้องตื่นเช้ากว่าใครๆ รอบหลังสบายตื่นสายได้ ทานข้าวเช้าได้ ไม่ต้องรอนานมาถึงพอดีเรียนเลย ดังนั้นใครๆ ก็อยากมารอบหลัง พอตกเย็นหลังเลิกเรียน ใครมารอบแรกก็ได้กลับมาพักผ่อนที่หอพักก่อน คนที่เสียสละก็รอที่มหาวิทยาลัย กว่าจะกลับถึงที่พัก กว่าจะทานข้าว ก็เยล็นถึงดึก เหนื่อย และพักผ่อนได้น้อยกว่า ที่สำคัญในความเป็นจริง คนี่เอาเปรียบคนอื่น คงถึงขั้น ตอนเช้ามาทีหลังคนอื่น ตอนเย็นจะกลับก็แย่งคนอื่นกลับก่อน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดความขัดแย้ง แตกแยก แตกความสามัคคี ในหมู่คนพิการ จนถึงทุกวันนี้
ดังนั้นสำหรับระยะที่ 2 นี้ ทางฝ่ายบริหารจัดการ จึงบริหารจัดการเสียใหม่ ให้รถรับ-ส่ง นั้นไปกลับเที่ยวเดียว ให้เหมือนกันกับโครงการที่ 1 ที่จัดขึ้นที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และโครงการที่ 2 ที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ที่แทบทุกคนมีความสามัคคีในภาพรวมเกือบทั้งหมด ช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี
ผมเชื่อว่าคนพิการส่วนใหญ่ โดยเฉพาะรุ่น 2 ที่มาใหม่ก็จะมีความสามัคคีกันเนื่องจากไม่ได้ประสบปัญหาเหมือนกับรุ่น 1 ส่วนรุ่น 1 เมื่อได้รับสิ่งที่ดีขึ้นก็จะได้กลับมาสามัคคีกันใหม่ และผมหวังว่าคนพิการที่มีอคติต่อโครงการก็จะเริ่มเห็นถึงความตั้งใจของทีมบริหารชุดใหม่
สำหรับผู้อ่านทุกท่าน ผมหวังว่าบทความในตอนนี้จะมีประโยชน์สหรับแนวคิดด้านการจัดการรถรับ-ส่ง คนพิการในโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าทำงานกับสถานประกอการ (กลุ่มบริษัทในเครือ Central Group) ซึ่งจะทำให้โครงการตามมาตรา 35 ของ Central Group จะลุล่วงด้วยดีต่อจากนี้ เพื่อเป็นวิทยาทานและประโยชน์กับผู้ประกอบการอื่นต่อไปในอนาคต
คราวนี้ลองหลับตานึกภาพในสมองใหม่ ว่าถ้าเราไม่บริหารจัดการแบบไไป-กลับ เที่ยวเดียว จะเกิดอะไรขึ้น เช่น การรับ-ส่ง มากกว่า 1 เที่ยว เป็น 2-3 เที่ยว ตอนเช้าคนพิการที่มารอบแรกคงต้องตื่นเช้ากว่าใครๆ รอบหลังสบายตื่นสายได้ ทานข้าวเช้าได้ ไม่ต้องรอนานมาถึงพอดีเรียนเลย ดังนั้นใครๆ ก็อยากมารอบหลัง พอตกเย็นหลังเลิกเรียน ใครมารอบแรกก็ได้กลับมาพักผ่อนที่หอพักก่อน คนที่เสียสละก็รอที่มหาวิทยาลัย กว่าจะกลับถึงที่พัก กว่าจะทานข้าว ก็เยล็นถึงดึก เหนื่อย และพักผ่อนได้น้อยกว่า ที่สำคัญในความเป็นจริง คนี่เอาเปรียบคนอื่น คงถึงขั้น ตอนเช้ามาทีหลังคนอื่น ตอนเย็นจะกลับก็แย่งคนอื่นกลับก่อน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดความขัดแย้ง แตกแยก แตกความสามัคคี ในหมู่คนพิการ จนถึงทุกวันนี้
รถตู้จำนวน 3 คัน สำหรับคนพิการนั่งรถเข็น
ทีมรถรับ-ส่ง กำลังนำรถเข็นขึ้นรถกระบะ
รถบัสจำนวน 3 คัน ที่จอดรถคนพิการหลังอาคาร A3
ดังนั้นสำหรับระยะที่ 2 นี้ ทางฝ่ายบริหารจัดการ จึงบริหารจัดการเสียใหม่ ให้รถรับ-ส่ง นั้นไปกลับเที่ยวเดียว ให้เหมือนกันกับโครงการที่ 1 ที่จัดขึ้นที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และโครงการที่ 2 ที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ที่แทบทุกคนมีความสามัคคีในภาพรวมเกือบทั้งหมด ช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี
ผมเชื่อว่าคนพิการส่วนใหญ่ โดยเฉพาะรุ่น 2 ที่มาใหม่ก็จะมีความสามัคคีกันเนื่องจากไม่ได้ประสบปัญหาเหมือนกับรุ่น 1 ส่วนรุ่น 1 เมื่อได้รับสิ่งที่ดีขึ้นก็จะได้กลับมาสามัคคีกันใหม่ และผมหวังว่าคนพิการที่มีอคติต่อโครงการก็จะเริ่มเห็นถึงความตั้งใจของทีมบริหารชุดใหม่
สำหรับผู้อ่านทุกท่าน ผมหวังว่าบทความในตอนนี้จะมีประโยชน์สหรับแนวคิดด้านการจัดการรถรับ-ส่ง คนพิการในโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าทำงานกับสถานประกอการ (กลุ่มบริษัทในเครือ Central Group) ซึ่งจะทำให้โครงการตามมาตรา 35 ของ Central Group จะลุล่วงด้วยดีต่อจากนี้ เพื่อเป็นวิทยาทานและประโยชน์กับผู้ประกอบการอื่นต่อไปในอนาคต